วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

ส1. สืบค้น (Research) Pimorn Herbal : Final Design Project

การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท 

 การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและการมองเห็น
(Product and Package Visual analysis)


ภาพที่1 ภาพแสดงผลิตภัณฑ์แชมพูและครีมนวดผมข้าวหอมนิล
(ที่มา : กิตติพันธ์ เย็นใจ ,2557)

1.ศึกษาวิเคราะห์สินค้าและบรรจุภัณฑ์
   ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวสินค้า
ชื่อสินค้า แชมพูสระผม ข้าวหอมนิล / ครีมนวดผม ข้าวหอมนิล
ประเภท สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
สถานะ ของเหลว
วัสดุหลัก ข้าวหอมนิลกลั่น
ผู้ผลิต วิสาหกิจชุมชนเกษตรรักษ์โลก
ที่อยู่ เลขที่ 86 หมู่ที่ 5 ถนน ตำบลหนองขุ่น อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
โทรศัพท์ 08 -0848834
Email yai_chadakorn@hotmail.com
วัสดุประกอบร่วมในตัวสินค้า/ส่วนผสม มะกรูด บอระเพ็ด ทองพันชั่ง กระเม็ง และสมุนไพรอื่นๆ
สี ม่วง/ครีม
ขนาด/มิติ กว้าง*สูง*หนา*ทรง ทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ซ.ม สูง 16.5 ซ.ม
ธรรมชาติการวางขาย/รูปแบบการขาย -
ใช้เวลาในการผลิตสินค้า -
ราคา 85 บาท
การนำส่งสินค้า ทางบก
  โครงสร้างหลักของตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ 
เทคนิคการบรรจุภัณฑ์ ใส่ขวดพาลสติกและมีฝาเปิด
ใช้เทคนิค/วิธีการ/การบรรจุสินค้า -
บรรจุภัณฑ์ชั้นแรกใช้วัสดุ ขวดพาลสติก
บรรจุภัณฑ์ชั้น2ใช้วัสดุ -
บรรจุภัณฑ์ชั้น3ใช้วัสดุ -
ขนาด/มิติ ทรงกระบอก
สีของวัสดุบรรจุภัณฑ์ สีใสและขาวขุ่น
การขึ้นรูปทรง ทรงกระบอก
วัสดุตกแต่ง -
ระบบการพิมพ์ที่ใช้ 
สี/จำนวนสีที่พิมพ์ 4สี
   การออกแบบกราฟิก
ภาพประกอบ ทุ่งนาและรวงข้าว
ลวดลาย -
ข้อความ บำรุงรากผม ช่วยให้ผมเงางาม ผมนิ่มสลวย
โลโก้ชื่อสินค้า แชมพูสระผม ข้าวหอมนิล Homnin Rice Hair Shampoo /
                     ครีมนวดผม ข้าวหอมนิล Homnin Rice Conditioning Cream
โลโก้ชื่อผู้พลิต วิสหกิจชุมชนเกษตรรักษ์โลก

 
ภาพที่2 ภาพแสดงโครงสร้างและส่วนประกอบทางกราฟิกของผลิตภัณ์ฑ์ครีมนวดผมข้าวหอมนิล
(ที่มา : กิตติพันธ์  เย็นใจ ,2557) 
ผลการวิเคราะห์
ก.โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ปัจจุบัน
หมายเลข 1 คือ ขวดพลาสติก
                          1.1 ขวดพลาสติก : ชนิด PP
                                1.2 ขนาด มิติ : เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ซ.ม สูง 16.5 ซ.ม
                                1.3 สีของวัสดุบรรจุภัณฑ์ : สีใส
                                1.4 วิธีการ/เทคนิค/การบรรจุสินค้า: บรรจุในขวด
                                1.5 ฟอนต์: Angsana New (ชื่อสินค้า) , Sarabun New (ข้อมูลสินค้า)
                                1.6 ราคา : 85 บาท
หมายเลข 2 คือ ตัวผลิตภัณฑ์ ครีมนวดผมข้าวหอมนิล
หมายเลข 3 คือ ฝาปิดของขวดพลาสติก
ข. กราฟิกที่ปรากฏบนตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ปัจจุบัน
หมายเลข 4 : โลโก้ผู้ผลิต
หมายเลข 5   : ภาพประกอบรูปรวงข้าว
หมายเลข 6   : ข้อความชักชวน บำรุงรากผม ช่วยให้ผมเงางาม ผมนิ่มสลวย
หมายเลข 7   : ราคา
หมายเลข 8   : ชื้อสินค้าครีมนวดผมข้าวหอมนิล
หมายเลข 9   : ข้อมูลส่วนประกอบผลิตภัณฑ์
หมายเลข 10 : ข้อมูลวิธีใช้
หมายเลข 11 : ข้อมูลสรรพคุณของผลิตภัณฑ์
หมายเลข 12 : ข้อมูลที่อยู่และเบอร์ติดต่อของผู้ผลิต 
  
ปัญหาที่พบคือ
1. จุดบอดทางการมองเห็น-การสื่อสาร ได้แก่
    1.1. ภาพประกอบไม่มีความน่าสนใจ
    1.2. ตัวฉลากยังไม่น่าดึงดูดพอ
    1.3. ฟ้อนข้อความบนฉลากสีขาวทำให้อ่านได้ยาก
    1.4. บรรจุภัณฑ์ยังไม่น่าดึงดูด และไม่น่าสนใจ
    1.5. บรรจุภัณฑ์ ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ
    1.6 ไม่มี วัน/เดือน/ปีที่ผลิต ระบุบนบรรจุภัณฑ์
2. ความต้องการของผู้ประกอบการ
 ผู้ประกอบการมึความต้องการให้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความน่าสนใจน่าดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น สามารถนำไปวางขายในห้างสรรพสินค้าได้โดยให้มีกลิ่นอายของธรรมชาติและการอนุรักษ์ธรรมชาติ
ต้องการชื่อผลิตภัณ์ที่เป็นคำสั้นๆแต่มีเอกลักษณ์ แปลก เห็นแล้วเกิดความสนใจ 

ตัวอย่างสินค้าเปรียบเทียบที่จำหน่ายตามท้องตลาด

ภาพที่3 ภาพแสดงผลิตภัณฑ์ยาสระผมข้าวและครีมนวดผมข้าวหอมนิล
ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านตำบลรำมะสัก จ.อ่างทอง
(ที่มา : http://easypeasyshop.weloveshopping.com/shop/showproduct.php?pid=16578887&shopid=206363 )

 
ภาพที่4 ภาพแสดงผลิตภัณฑ์แชมพูข้าวหอมนิลเพาะงอก สูตร "เซรั่มบิวต์"
(ที่มา : http://www.sabuyjaishop.com/shop/baleeda/images/xjqpyfrbn0xhrjx4l4da29102013443000001.jpg)


ตัวอย่างแบบขวดบรรจุภัณฑ์ Pimorn Herbal

ภาพที่5 ภาพตัวอย่างขวดบรรจุภัณฑ์ 6 แบบ
(ที่มา : กิตติพันธ์  เย็นใจ ,2557)

1. แบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ขวดแชมพู

 
ภาพที่6 แบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ขวดแชมพู
(ที่มา : กิตติพันธ์  เย็นใจ ,2557)

บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบขวดแชมพู
- รูปทรงบรรจุภัณฑ์ : เป็นขวดบีบได้ ใสทรงสูง มีฝาเปิดปิด
- สีขวด : สีใส
- ขนาดความ ( กว้าง x สูง cm. ) : 4.7 x 16.5 cm.
- ปริมาณความจุในขวดแชมพู : 200 มล.
- หมายเลขพลาสติกรีไซเคิล : 2 พอลิเอธิลีน ( High Density Polyethylene ) เอชดิพีอี HDPE

ภาพที่7 แบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ขวดแชมพู
(ที่มา : กิตติพันธ์  เย็นใจ ,2557)

บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบขวดแชมพู
- รูปทรงบรรจุภัณฑ์ : เป็นขวดทรงสูง ใสทรงสูง มีฝาเปิดปิด
- สีขวด : สีใส
- ขนาดความ ( กว้าง x สูง cm. ) : 3.5 x 12.5 cm.
- ปริมาณความจุในขวดแชมพู : 100 มล.
- หมายเลขพลาสติกรีไซเคิล : 2 พอลิเอธิลีน ( High Density Polyethylene ) เอชดิพีอี HDPE

2. แบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ขวดครีมนวดผม

 
ภาพที่8 แบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ขวดครีมนวดผม 1
(ที่มา : กิตติพันธ์  เย็นใจ ,2557)

 
ภาพที่9 แบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ขวดครีมนวดผม 2
(ที่มา : กิตติพันธ์  เย็นใจ ,2557)

 บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบขวดครีมนวดผม
- รูปทรงบรรจุภัณฑ์ : เป็นหลอดสีขาว
- สีขวด : สีขาว
- ฝาบรรจุภัณฑ์ : ฝาสีขาวแบบเปิดปิด
- ขนาดความ ( กว้าง x สูง cm. ) : 6.00 x 15.5 cm. / 4.50 x 10.00cm
- ปริมาณความจุในขวดแชมพู : 120 มล. / 30 มล.
- หมายเลขพลาสติกรีไซเคิล : 2 พอลิเอธิลีน ( High Density Polyethylene ) เอชดิพีอี HDPE

 3. แบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ทรีทเมนต์บำรุงเส้นผม

 
ภาพที่10 แบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ขวดทรีทเมนต์บำรุงเส้นผม
(ที่มา : กิตติพันธ์  เย็นใจ ,2557)

 บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบขวดทรีทเมนต์บำรุงเส้นผม
- รูปทรงบรรจุภัณฑ์ : เป็นกระปุกทรงกลม
- สีขวด : สีขาว
- ฝาบรรจุภัณฑ์ : ฝากระปุกสีขาว
- ขนาดความ ( กว้าง x สูง cm. ) : 7 x 4 cm.
- ปริมาณความจุในขวดแชมพู : 100 กรัม
- หมายเลขพลาสติกรีไซเคิล : 2 พอลิเอธิลีน ( High Density Polyethylene ) เอชดิพีอี HDPE

 4. แบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์เซรุ่มบำรุงผม

 
ภาพที่11 แบบตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ขวดเซรุ่มบำรุงผม
(ที่มา : กิตติพันธ์  เย็นใจ ,2557)

 บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบขวดเซรุ่มบำรุงผม
- รูปทรงบรรจุภัณฑ์ : เป็นขวดแก้วใส
- สีขวด : สีใส
- ฝาบรรจุภัณฑ์ : ฝาปั๊มสีขาว / ครบฝาปั๊มสีเงิน
- ขนาดความ ( กว้าง x สูง cm. ) : 3.5 x 12.5 cm.
- ปริมาณความจุในขวดแชมพู : 80 กรัม
- หมายเลขพลาสติกรีไซเคิล : 2 พอลิเอธิลีน ( High Density Polyethylene ) เอชดิพีอี HDPE

นำเสนอผลงานในรูปแบบ Mood board

 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น